วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
FinalDetail2
อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องแลป
บีกเกอร์
เป็นอุปกรณ์พื้นฐานในห้องปฏิบัติการเคมี ใช้สำหรับเตรียมสารละลาย
ต้มสารละลาย ตกตะกอน ผสมสารหรือให้สารทำปฏิกิริยากัน บีกเกอร์มีหลายขนาด
ตั้งแต่ขนาดเล็ก 50 ml ไปจนถึง 5 L บีกเกอร์ที่นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการมักทำจากแก้วทนไฟ
(Pyrex หรือ Bomex) และก็ยังมีชนิดที่ทำด้วยพลาสติกที่ไม่สามารถตั้งไฟได้แต่ราคาถูกกว่า
กระบอกตวง (cylinder)
เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับวัดปริมาตรของเหลว หรือใช้ตวงสารละลาย
ให้มีปริมาตรตามที่ต้องการ ปริมาตรสารละลายที่ได้จากการวัดด้วยกระบอกตวงเป็นปริมาตรอย่างคร่าวๆเท่านั้น หากต้องการความแม่นยำสูงต้องใช้อุปกรณ์ประเภทอื่น
เช่น ปิเปต เป็นต้น กระบอกตวงมีทั้งแบบทำด้วยแก้วและทำด้วยพลาสติก มีหลายขนาดให้เลือกใช้
โดยมีตั้งแต่ 5 ml.ไปจนถึง 2 L. ขนาดเล็ก 50 ml ไปจนถึง 5 L บีกเกอร์ที่นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการมักทำจากแก้วทนไฟ
(Pyrex หรือ Bomex) และก็ยังมีชนิดที่ทำด้วยพลาสติกที่ไม่สามารถตั้งไฟได้แต่ราคาถูกกว่า
ขวดรูปชมพู่ (Erlenmeyer
flask)
หรือเรียกอีกอย่างว่า conical
flask ทำด้วยแก้วมีลักษณะเป็นทรงกรวย
มีสเกลบอกปริมาตร มีหลายขนาดด้วยกันแต่ที่นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี
มีขนาดความจุ 250 – 500 ml.นิยมใช้ในการไทรเทรทสารละลาย
หลอดหยดสาร (dropper)
อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับห้องปฏิบัติการเคมี มีลักษณะเป็นหลอดแก้วปลายเรียวเล็ก ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งมีกระเปาะยางติดอยู่
เพื่อใช้ในการดูดสารละลาย หลอดหยดสารใช้สำหรับหยดสารละลายทีละน้อยๆซึ่งสามารถใช้ในการเตรียมสารละลาย
เพื่อปรับปริมาตรสารให้ได้ตามที่ต้องการ หรือ ใช้ในการหยดสารเพื่อให้ทำปฏิกิริยากันอีกด้วย
ข้อควรระวังในการใช้หลอดหยดสารก็คือ
อย่าให้ปลายของหลอดหยดกระทบหรือแตะกับอุปกรณ์หรือสิ่งรอบข้างอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากจะทำให้มีการปนเปื้อนของ impurity เข้าไปภายในหลอดหยดสารได้
ข้อควรระวังในการใช้หลอดหยดสารก็คือ
อย่าให้ปลายของหลอดหยดกระทบหรือแตะกับอุปกรณ์หรือสิ่งรอบข้างอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากจะทำให้มีการปนเปื้อนของ impurity เข้าไปภายในหลอดหยดสารได้
แท่งแก้วคนสาร (Glass Rod)
มีลักษณะเป็นแท่งแก้วยาวปลายแบน มีขนาดความยาว 10 – 20 นิ้ว ใช้สำหรับคนสารละลายให้ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
นอกจากนี้ยังใช้ช่วยในการเทสารละลายไปยังพาชนะอื่นโดยเทสารละลายให้ไหลไปตามแท่งแก้วคน วิธีนี้จะทำให้สามารถควบคุมทิศทางการไหลของสารละลายได้ดีขึ้นอีกด้วย
บิวเรต (buret หรือ burette)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการไทเทรตมีลักษณะเป็นหลอดแก้วที่มีขีดบอกปริมาตรและมีวาล์วสำหรับเปิด-ปิดเพื่อควบคุมการปล่อยสารละลายภายในหลอดที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา จึงทำให้สามารถวัดปริมาตรสารที่ใช้ไปในการทดลองได้
อย่างแม่นยำ ขนาดที่นิยมใช้โดยทั่วไปในห้องปฏิบัติการคือ
25 ml. หรือ 50 ml.
ปิเปต (Pipet หรือ Pipette)
เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับวัดปริมาตรของสารละลายให้มีความแน่นอนและมีความแม่นยำสูง
Graduated pipette หรือ Measuring pipette มีลักษณะเป็นหลอดแก้วที่มีสเกลบอกปริมาตรต่างๆไว้
ทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่า Volumetric pipette แต่มีความแม่นยำน้อยกว่า Volumetric pipette เช่นกัน
Graduated pipette ขนาด 10 มล. มีความผิดพลาด 0.3%
Graduated pipette ขนาด 30 มล. มีความผิดพลาด 0.3%
Graduated pipette หรือ Measuring pipette มีลักษณะเป็นหลอดแก้วที่มีสเกลบอกปริมาตรต่างๆไว้
ทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่า Volumetric pipette แต่มีความแม่นยำน้อยกว่า Volumetric pipette เช่นกัน
Graduated pipette ขนาด 10 มล. มีความผิดพลาด 0.3%
Graduated pipette ขนาด 30 มล. มีความผิดพลาด 0.3%
หลอดทดลอง (test tube)
ใช้สำหรับทดสอบปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารต่างๆในปริมาณน้อยๆ มีลักษณะเป็นหลอดแก้ว มีทั้งชนิดที่มีปาก และไม่มีปากแบบที่ทนไฟและไม่ทนไฟ
est tube)
กรวยกรอง (funnel)
อุปกรณ์ช่วยในการถ่ายเทสารละลายจากภาชนะที่มีขนาดใหญ่ไปยังภาชนะขนาดเล็ก มักจะใช้สำหรับสวมบิวเรตเพื่อเทสารละลายลงในบิวเรต หรือใช้ร่วมกับกระดาษกรองเพื่อกรองเอาของแข็งหรือตะกอนออกจากสารละลาย
กรวยกรองมีทั้งแบบก้านสั้นและก้านยาว โดยกรวยก้านยาวจะกรองได้เร็วกว่ากรวยก้านสั้นส่วนขนาดของกรวยกรองวัดจากเส้นผ่าศูนย์กลาง(ภายนอก) โดยมีหลายขนาด ซึ่งมีตั้งแต่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4
cm. ไปจนถึง 15 cm.
แสตน และ แคลมป์ Stand
& Clamp
วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ชาเขียว
“ชาเขียว” เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีการผลิตชาเขียวในรูปแบบของเครื่องดื่มสำเร็จรูปกันอย่างแพร่หลายทำให้สะดวกต่อการบริโภค และด้วยรสชาติความอร่อยของชาเขียว แก้กระหายทำให้รู้สึกสดชื่น รวมไปถึงเทคนิคการโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาเขียว หรือข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสรรพคุณของชาเขียวที่มีต่อร่างกาย เช่น ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ลดความอ้วน และป้องกันโรคมะเร็ง เป็นต้น เป็นแรงจูงใจทำให้กระแสการบริโภคชาเขียวเพิ่มขึ้น แต่อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม หรือบริโภคชาเขียวในปริมาณสูงเกินไปโดยไม่ทราบถึงผลกระทบต่อร่างกาย ผู้บริโภคจึงควรทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชาเขียวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย
ชาเขียว ก็คือ ชา (Camellia sinensis) ที่ไม่ผ่านการหมัก เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว ทำให้ได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่และยังมีสีที่ค่อนข้างเขียวจึงเรียกว่า ชาเขียว สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียวได้แก่ กรดอะมิโน วิตามิน B, C, E สารในกลุ่มแซนทีนอัลคาลอยด์ (xanthine alkaloids) คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางส่งผลให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่เรียกว่า แคททีชิน (catechins) แคททีชินที่พบมากที่สุดในชาเขียวคือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ประวัติ
บริษัท สยามคิริน เบฟเวอร์เรจ จำกัด ในกลุ่มคิริน เบฟเวอร์เรจ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ตลาดชาเขียวในปี 2549 หดตัวลง 40% เมื่อเทียบกับการเกิดกระแสชาเขียวในปี 2548 ซึ่งไม่ได้เป็นการเติบโตที่เกิดจากความต้องการดื่มที่แท้จริง แต่จากนี้ไปคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตอย่างมั่นคง
“ชาเขียว” เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีการผลิตชาเขียวในรูปแบบของเครื่องดื่มสำเร็จรูปกันอย่างแพร่หลายทำให้สะดวกต่อการบริโภค และด้วยรสชาติความอร่อยของชาเขียว แก้กระหายทำให้รู้สึกสดชื่น รวมไปถึงเทคนิคการโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาเขียว หรือข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสรรพคุณของชาเขียวที่มีต่อร่างกาย เช่น ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ลดความอ้วน และป้องกันโรคมะเร็ง เป็นต้น เป็นแรงจูงใจทำให้กระแสการบริโภคชาเขียวเพิ่มขึ้น แต่อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม หรือบริโภคชาเขียวในปริมาณสูงเกินไปโดยไม่ทราบถึงผลกระทบต่อร่างกาย ผู้บริโภคจึงควรทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชาเขียวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย
ชาเขียว ก็คือ ชา (Camellia sinensis) ที่ไม่ผ่านการหมัก เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว ทำให้ได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่และยังมีสีที่ค่อนข้างเขียวจึงเรียกว่า ชาเขียว สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียวได้แก่ กรดอะมิโน วิตามิน B, C, E สารในกลุ่มแซนทีนอัลคาลอยด์ (xanthine alkaloids) คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางส่งผลให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่เรียกว่า แคททีชิน (catechins) แคททีชินที่พบมากที่สุดในชาเขียวคือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ประวัติ
ชามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนกว่า 4,000 ปีมีแล้ว กล่าวคือเมื่อ 2,737 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาเขียวได้ถูกค้นพบโดยจักรพรรดินามว่า เสินหนง ซึ่งเป็นบัณฑิตและนักสมุนไพร ผู้รักความสะอาดเป็นอย่างมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก ชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆในช่วงศตวรรษต่างๆดังนี้
- ช่วงศตวรรษที่ 3
ชาเป็นยา เป็นเครื่องบำรุงกำลังที่ได้รับความนิยมมากในช่วงศตวรรษที่3ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชากันและพัฒนาขั้นตอนการผลิตมาเรื่อยๆ
- ช่วงศตวรรษที่ 4 และ 5
ชาในประเทศจีนได้รับความนิยมมากขึ้นและได้ผลิตชาในรูปของการอัดเป็นแผ่นคือ การนำใบชามานึ่งก่อน แล้วก็นำมา กระแทก ในสมัยนี้ได้นำน้ำชาถึงมาถวายเป็นของขวัญแด่พระจักรพรรดิ
- สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 - 906
ถือเป็นยุคทองของชา ชาไม่ได้ดื่ม เพื่อเป็นยาบำรุงกำลังอย่างเดียว แต่มีการดื่มเป็นประจำทุกวัน เป็นเครื่องมือเพื่อสุขภาพ
- สมัยราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960 - 1279
ชาได้เติมเครื่องเทศแบบใน สมัยราชวงศ์ถังแต่จะเพิ่มรสบางๆ เช่น น้ำมันจากดอกมะลิ ดอกบัว และดอกเบญจมาศ
- สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 - 1644)
ชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว สมัยนั้นกระบวนการผลิตชาได้พัฒนาขึ้นไปอีก ไม่อัดเป็นแผ่น แต่มี การรวบรวมใบชา นำมานึ่ง และอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นได้ ง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรป การผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพชาให้นานขึ้น โดยได้คิดค้นกระบวนการที่ เราเรียกว่า การหมัก เมื่อหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็นที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีน มีการแต่งกลิ่นด้วย โดยเฉพาะกลิ่นดอกไม้ ในประเทศไทย
ในสมัยสุโขทัยช่วงมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่ม ชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาได้อย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมอยู่ทางภาคเหนือ
ประเภท
- ชาเขียวแบบญี่ปุ่น ชาเขียวญี่ปุ่น ไม่ต้องคั่วใบชา
- ชาเขียวแบบจีน ชาเขียวจีน จะมีการคั่วด้วยกะทะร้อน
การชงเเละบริการ
- ใส่ใบชาในกาชาประมาณ 1/6 -1/4
- รินน้ำเดือดลงในกาชาครึ่งหนึ่ง เททิ้งทันที (ไม่ควรเกิน 5 วินาที) เพื่อล้าง และอุ่นใบชาให้ตื่นตัว
- รินน้ำเดือดลงในกาชาจนเต็ม ปิดฝากา ทิ้งไว้ประมาณ 45 - 60 วินาที
- รินน้ำชาลงในแก้วดื่ม (การรินแต่ละครั้ง ต้องรินน้ำให้หมดกา มิฉะนั้น จะทำให้น้ำชาที่เหลือมีรสขม ฝาดมากขึ้น เสียรสชาติ) ใบชาสามารถชงได้ 4 - 6 ครั้ง หรือจนกว่ากลิ่นชาจะหายหอมไป และในการชงแต่ละครั้ง ให้เพิ่มเวลาครั้งละ 10 - 15 วินาที
เครื่องดื่มชาเขียวในไทย ปัจจุบันชาเขียวได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้ที่สนใจและรักษาสุขภาพซึ่งชาเขียวเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทำให้เป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบันทั้ง ชาเขียวที่ได้สกัดมาเป็นเครื่องดื่มประเภทชาเขียวมีมากมายในยุคปัจจุบัน ซึ่งยี่ห้อที่ได้รับความนิยมมีดังนี้
บริษัท ยูนิ-เพรสซิเด้นท์ (ประเทศไทย) จำกัดผู้ผลิตและจำหน่ายชาเขียวพร้อมดื่ม”ยูนิฟ กรีนที” และ “ชาลีวัง” กล่าวว่า บริษัทจึงมีแผนที่จะรักษาความเป็นผู้นำในตลาดไว้โดยการพัฒนาสินค้ารสชาติใหม่ๆ เข้ามาทำตลาดต่อเนื่อง ตลอดจนการเพิ่มบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ล่าสุดได้ขยายบรรจุภัณฑ์ใหม่เป็นขวดแพ็ก 500 มิลลิลิตร และได้เริ่มรสชาติชูการ์ฟรีก่อน จากที่มีอยู่ 3 รสชาติ คือ รสชูการ์ฟรี รสดั้งเดิมและรสเลมอน โดยจะจำหน่ายในราคา 20 บาท เท่ากับของคู่แข่ง โออิชิ กรีนที ที่มีขนาดบรรจุ 500 มิลลิลิตรเท่ากัน ทั้งนี้ก็เพื่อจะขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ อาทิกลุ่มผู้ออกกำลังกาย นักกีฬา และนักเดินทาง
โออิชิ
บริษัทได้ก่อสร้างโรงงานเพื่อผลิตชาเขียวรูปแบบใหม่กล่องยูเอชทีสำหรับวัยรุ่นอายุระหว่าง 15-24 ปี ทั่วประเทศและชาเขียวในขวดแพ็กสำหรับคนทำงานอายุระหว่าง 25-30 ปีในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลซึ่งเป็นขวดในระบบฮอตฟิว สามารถเก็บรักษาได้เป็นระยะเวลา 1 ปี คาดว่ายอดขายปีแรก 500 ล้านบาท มอบหมายให้บริษัทดีทแฮล์มฯเป็นผู้กระจายสินค้า โดยปัจจุบันในตลาดชาเขียวพร้อมดื่มยูนิฟกรีนที เป็นเจ้าตลาด มีส่วนแบ่ง 65% ตามด้วยทิปโก้มีส่วนแบ่ง 10% ของตลาดรวม
นะมาชะ
บริษัท สยามคิริน เบฟเวอร์เรจ จำกัด ในกลุ่มคิริน เบฟเวอร์เรจ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ตลาดชาเขียวในปี 2549 หดตัวลง 40% เมื่อเทียบกับการเกิดกระแสชาเขียวในปี 2548 ซึ่งไม่ได้เป็นการเติบโตที่เกิดจากความต้องการดื่มที่แท้จริง แต่จากนี้ไปคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตอย่างมั่นคง
จากการที่บริษัทได้เปิดตัวชาเขียว "นะมะชะ" นับว่าประสบความสำเร็จในการสร้างการรับรู้ในแบรนด์มาก และในปี 2550 บริษัทได้สร้างกลยุทธ์ทางการตลาดแนวใหม่เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น และเตรียมพร้อมสำหรับการก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดในไทย โดยได้นำ "นะมะชะแพนด้า" 2 รสชาติ คือ รสต้นตำรับ และรสหวานน้อย ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทแม่มาทำตลาดในไทย ซึ่งจะมีการแจกของพรีเมี่ยมให้กับลูกค้าด้วย เพียงซื้อ "นะมะชะ"1 ขวดที่ร้านสะดวกซื้อ ก็จะได้รับที่ห้อยโทรศัพท์ หรือซื้อ 2 ขวดที่ซูเปอร์มาร์เก็ตก็จะได้รับแก้วน้ำ ปัจจุบันไม่มีการแจกแล้ว
ฟูจิชะ
ชาเขียวพร้อมดื่มภายใต้การควบคุมของฟูจิกรุ๊ป ผลิตจากวัตถุดิบใบชานำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น และผลิตโดยใช้เทคโนโลยีระบบ cold filled ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่ใช้ความร้อนสูงในระยะเวลาสั้น แล้วผ่านไปสู่กระบวนการผลิตต่อๆไปที่อุณหภูมิต่ำ ทำให้คุณค่า สารอาหาร สี และรสชาติของชาถูกทำลายไปเพียงเล็กน้อย สู่บรรจุภัณฑ์ขวดรูปทรงกระบอกและฝาปิดสองชั้น เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันการแทรกซึมของจุลินทรีย์เข้าไปในผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันมีจำหน่าย 3 สูตร คือ Natural, Tasty (หวาน), Fit (ผสมสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย)
มารุเซน
ชาเขียวญี่ปุ้นแท้เจ้าแรกที่เข้ามาปักหลักผลิตในประเทศไทย โดยใช้ไร่ชา ที่ สิงห์ปาร์ค เชียงรายของ บริษัทบุญรอด ฟาร์ม จำกัด เป็นฐานในการผลิต มารุเซน เป็นโรงงานมาตรฐานไอเอสโอ 22000 แห่งแรกในประเทศไทยโดยผลิตภัณฑ์จากโรงงาน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มชาเขียวใบ สูตรออริจินัล สูตรเข้มข้นพิเศษ และสูตรชาเขียวผสมข้าวกล้องทองญี่ปุ่นคั่ว กลุ่ม ชาเขียวชนิดซอง และกลุ่มชาเขียวผง หรือ มัทฉะ
สรรพคุณของชาเขียว
- ชาเขียวถูกนำมาใช้ในการรักษาตั้งแต่โรคปวดศีรษะไปจนถึงโรคซึ่มเศร้า ซึ่งในประเทศจีนมีการใช้ชาเขียวเป็นยามามากกว่า 4,000 ปีแล้ว
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- แก้เมาเหล้า ทำให้สร่างเมา
- ช่วยแก้หวัด แก้ร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ขับสารพิษตกค้าง
- ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์ สงบประสาท ระบายความร้อนจากศีรษะและเบ้าตา ทำให้สดชื่น ตาสว่าง ไม่ง่วงนอน และช่วยทำให้หายใจสดชื่น
- ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ ระบายความร้อนออกจากปอด และช่วยขับเสมหะ
- ช่วยแก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย
- ช่วยเพิ่มแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ จึงสามารถช่วยล้างสารพิษและกำจัดพิษในลำไส้ได้
- ช่วยป้องกันตับจากพิษและโรคอื่น ๆ
- ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
- ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอาการอักเสบ ต้านเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ต้านเชื้อ Botulinus และเชื้อ Staphylococcus
- ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดีและในไต
- ช่วยในการห้ามเลือดหรือทำให้เลือดไหลช้าลง
- ใช้เป็นยาพอกรักษาแผลอักเสบ แผลพุพอง ไฟไหม้ ฝีหนอง ช่วยบรรเทาอาการผดผื่นคัน ผิวร้อนแห้ง แมลงสัตว์กัดต่อย และยังใช้เป็นยากันยุงได้อีกด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)